วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โทรทัศน์ครู


โทรทัศน์ครู


 เรื่อง : ใช้กิจกรรมนำการสอนภาษาไทย



            การเรียนการสอนก่อนการเริ่มเรียนต้องมีการใช้กิจกรรมเข้ามาช่วยในการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียน(กิจกรรมนำการเรียนรู้) เพื่อกระตุ้นให้เด็กตั้งใจเรียน สนใจเนื้อหาที่จะสอน เช่น Play  +  learn  =  เพลิน  ทำให้นักเรียนมีความสุข สนุกกับการเรียน ทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ









โรคทางพันธุกรรม : ความผิดปกติในโครโมโซมเพศ


 

โรคทางพันธุกรรม



                    ความผิดปกติในโครโมโซมเพศ 


            ความผิดปกติของร่างกาย บางครั้งอาจมาจากความผิดปกติของโครโมโซมเพศโครโมโซมเพศที่ผิดปกติ อาจเกิดจากจำนวนหรือรูปร่างของโครโมโซมเพศผิดปกติกล่าวคือบางกรณีมีโครโมโซม X มากเกินปกติ หรือ ลดลงไปจากปกติ บางกรณีมีโครโมโซม Y มากเกินปกติ ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติทั้งร่างกายและจิตใจต่างๆกัน ทั้งยังส่งผลทางพันธุกรรมไปสู่ลูกหลานอีกด้วย ตัวอย่างอาการที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมเพศ


ภาพ :  ตัวอย่างความผิดปกติที่โครโมโซมเพศ




ที่มา :  http://www.tlcthai.com/education/knowledge-online/content-edu/16449.html

โรคทางพันธุกรรม : กลุ่มอาการเทอร์เนอร์

 

 

โรคทางพันธุกรรม



                     กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ 


            กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ เป็นความผิดปกติของโครโมโซมที่เกิดกับผู้ป่วยเพศหญิง เป็นผู้หญิงที่มีการพัฒนาทางเพศมีลักษณะอาการน้อย ไม่มีรังไข่ เป็นหมัน เตี้ย คอสั้น หน้าอกกว้าง กระดูกอกกว้างแบน หัวนมห่าง ที่บริเวณคอเป็นพังผืดกางเป็นปีก ไม่มีประจำเดือน เป็นหมันและระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ ปัญญาอ่อน ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มีจำนวนโครโมโซม 45 โครโมโซม เนื่องจากมีโครโมโซมเพศ คือ โครโมโซม Xเพียงโครโมโซม เดียวพบในผู้หญิง 1 ต่อ 2500 คน


ภาพ :  โครโมโชมกลุ่มอาการเทอร์เนอร์



ภาพตัวอย่าง :  ผู้ที่มีอาการเทอร์เนอร์








โรคทางพันธุกรรม : กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์

 

 

โรคทางพันธุกรรม



                   กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์


            กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter’s syndrome) เป็นความผิดปกติที่เกิดกับผู้ป่วยเพศชาย ลักษณะจะมีรูปร่างสูง หน้าอกโต เป็นหมัน และอาจมีปัญญาอ่อนด้วย พบประมาณ 1.3 คน ต่อผู้ชาย 1000 คน สาเหตุเนื่องจากมีโครโมโซมผิดปกติคือ โครโมโซมเพศแบบ XXY ทำให้มีจำนวนโครโมโซม 47 โครโมโซม ซึ่งเกินกว่าคนปกติ 1โครโมโซม (ในบางกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจจะมีโครโมโซมถึง 48 โครโมโซมเพราะมีโครโมโซมเพศแบบ XXXY) มีลักษณะดังนี้ เช่น พัฒนาการของลูกอัณฑะการสร้างตัวอสุจิลดลง สร้างฮอร์โมนเพศชายลดน้อยลง อาการอาจแตกต่างกันได้บ้าง ส่วนใหญ่ที่พบคือ ลูกอัณฑะเล็กมาก เป็นหมัน แขนยาวขายาว เต้านมโตผิดปกติ ไม่มีความต้องการทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศลดน้อยลงมาก ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเฉพาะ ในอนาคตอาจมีการนำวิธียีนบำบัดมาใช้ได้
            ปัจจุบันมีการให้ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายเนื่องจากผู้ป่วยมีการสร้างฮอร์โมนได้น้อย พบว่าช่วยให้อาการต่างๆ จากการขาดฮอร์โมนนี้ดีขึ้นได้บ้าง สำหรับปัญหาเรื่องเป็นหมัน หรืออัณฑะไม่สามารถตรวจอสุจิได้นั้น เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อาจต้องทำการตรวจเป็นรายไป เนื่องจากยังมีโอกาสที่ผู้ป่วยบางรายสามารถสร้างอสุจิได้



ภาพ :  โครโมโซมเพศแบบ XXXY




ภาพ :  ตัวอย่างลักษณะของกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์




โรคทางพันธุกรรม : กลุ่มอาการคริดูชาต์


 

โรคทางพันธุกรรม


                    กลุ่มอาการคริดูชาต์


            กลุ่มอาการ คริดูชาต์ (Cri-du-chat syndrome หรือ Cat-cry syndrome) เป็นความผิดปกติของโครโมโซมที่มีรูปร่างผิดปกติลักษณะของผู้ป่วยคือ มีปัญญาอ่อนศีรษะเล็กกว่าปกติ การเจริญเติบโตช้าหน้ากลม ใบหูอยู่ต่ำกว่าปกติและคนไข้มีเสียงร้องแหลมคล้ายเสียงแมวร้องซึ่งเป็นที่มาของชื่อนี้ สาเหตุของโรค เนื่องจากมี โครโมโซมคู่ที่ 5 ผิดปกติไป 1 โครโมโซม โดยมีส่วนหนึ่งของโครโมโซมขาดหายไปทำให้มีแขนข้างสั้นของโครโมโซมสั้น กว่าปกติ พบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย




ภาพ :  โครโมโซมคู่ที่5ผิดปกติไป 1 โครโมโซม


ภาพตัวอย่าง :  เด็กที่มีอาการคริดูซาต์



ที่มา :  http://www.tlcthai.com/education/knowledge-online/content-edu/16449.html







โรคทางพันธุกรรม : กลุ่มอาการดาวน์


 

โรคทางพันธุกรรม


                    กลุ่มอาการดาวน์


            กลุ่มอาการดาวน์ หมายถึงโรคกรรมพันธุ์ชนิดหนึ่ง ในคนปกติจะมีโครโมโซมจำนวน 46 แท่ง แต่คนที่เป็นโรคนี้จะมีโครโมโซมจำนวน 47 แท่งโดยมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่งถือเป็นความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุด อุบัติการณ์เท่ากับ 1:800 ของทารกแรกเกิดพบในทุกเชื้อชาติ สามารถเกิดได้กับทุกๆ คน เด็กจะมีลักษณะที่เฉพาะ เช่น ใบหน้ามักจะกลม ศีรษะค่อนข้างเล็กและท้ายทอยแบน ดั้งจมูกแบน หางตาเฉียงขึ้นบน นิ้วมือและนิ้วเท้ามักจะสั้น กล้ามเนื้อที่อ่อนนิ่ม มีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ล่าช้า ซึ่งความรุนแรงจะมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละคน พบความผิดปกติทางร่างกายของระบบต่างๆ ร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะต่อมธัยรอยด์บกพร่อง ปัญหาด้านการได้ยินและด้านสายตา เป็นต้น จึงควรได้รับคำปรึกษาดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และยืนยันการวินิจฉัยโดยการส่งตรวจโครโมโซม

ภาพ :  โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง



ภาพตัวอย่าง :  เด็กที่มีอาการดาวน์